วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

รีวิวการเลื่อนระดับจากภาคีวิศวกรไฟฟ้ากำลังเป็นสามัญวิศวกรไฟฟ้ากำลัง ตอนจบ

รีวิวการเลื่อนระดับจากภาคีวิศวกรไฟฟ้ากำลังเป็นสามัญวิศวกรไฟฟ้ากำลัง ตอนจบ 🤣😆🙄

             ถึงกำหนดวันสัมภาษณ์ ก็ให้ไปก่อนสัมภาษณ์ซัก 30 นาทีก็ดีครับ โดยวันสัมภาษณ์ก่อนขึ้นไปสัมภาษณ์ต้องมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์  1500 บาท ที่ชั้น 2 ก่อนครับ จากนั้นก็ขึ้นไปชั้น 5 (อันนี้ไม่ชัวจำชั้นไม่ได้ครับ) เป็นชั้นเดียวกับที่สอบข้อเขียนภาคีครับ โดยในรอบที่ผมไปสอบจะมีผู้เข้าสอบประมาณ 9 คน ก็จะมีคณะกรรมการประมาณ 3 ห้องนะครับ โดยเจ้าหน้าที่จะจัดเราลงแต่ละห้องแบบสุ่มนะครับ หลังจากนี้ก็ตามคิวที่ได้ โดยสัมภาษณ์ 1 คนใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที

ห้องที่คณะกรรมการใช้ในการสัมภาษณ์

              พอถึงคิวก็ เข้าไปสัมภาษณ์เลยครับ เข้าไปกรรมการก็ให้แนะนำตัวเบื้องต้น และทำงานอะไรมาบ้าง โดยคณะกรรมการก็จะถามข้อมูลจากผลงานเด่นที่เราส่งไปนะครับ และก็มีส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับที่เราส่งไปก็เยอะครับ ตอบไม่ได้ก็เยอะครับ ตัวอย่าง เช่น
กรรมการ : LA ด้านแรงสูงเนี่ยทำไมใช้ขนาด 5 kA มีที่มายังไง ,ระบบสายส่งของการไฟฟ้ามี Overhead Ground Wire ป้องกันแล้วทำไมฟ้ายังผ่าสายส่งได้อยู่, ทำไมถึงเลือกใช้ Detune Filter  แล้วทำไมใช้ 6% ,เลือกใช้ Detune แล้วเคยใช้แบบ Tune ใช้ยังไง, Ground grid มีไว้เพื่ออะไรใช้ทำอะไร, ระบบ Ground แรงสูงกับแรงต่ำถ้าจะเอามาต่อร่วมกันต้องมีเงื่อนไขอะไร, Undervoltage Relay ใส่ที่ MDB ใหม เอาไว้ทำอะไร,ระบบ Ground แรงต่ำคิดขนาดตัวนำอย่างไร ต่อกันแบบไหน ฯ ก็คำถามก็อยู่ประมาณนี้นะครับ มีอีกหลายข้อที่จำไม่ได้ครับ ซึ่งสิ่งที่กรรมการจะถามก็แล้วแต่ดวงนะครับ บางคนก็อาจจะได้คำถามที่มีคำตอบอยู่ในมาตรฐาน วสท. นะครับ บางคนอาจจะเจอคำถามนอกหนังสือเยอะครับ แต่ยังไงก็ตามคำถามส่วนใหญ่ก็จะมาจากในผลงานเด่นที่เรายื่นไป โดยส่วนตัวผมว่าคำถามบางคำถามถ้าตอบไม่ได้ก็บอกไม่ได้ไปเลยครับ เพราะถ้ามั่วไปอาจจะโดนถามคำถามอื่นต่อซึ่งมักจะเป็นคำถามที่ยากทำให้เราเอ๋อไปซะดื้อๆ ครับ พาให้ตอบข้ออื่นหลังจากนี้รวนๆไปด้วย พอสัมภาษณ์เสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะให้รอเช็คผลจากทางเว็ปเหมือนเดิมนะครับ โดยวันที่ประกาศผลสัมภาษณ์จะแสดงมาภายหลังที่เราไปสอบประมาณไม่เกิน 1 อาทิตย์นะครับ ซึ่งในกรณีของผมแจ้งมาคือ 1 เดือนหลังจากสอบสัมภาษณ์


ระหว่างนี้ก็จะมีเวลา 1 เดือน ที่จะเตรียมเงินนะครับ (5555+) โดยจำนวนที่ทราบเบื้องต้นคือ ถ้าผ่านสัมภาษณ์จะต้องเเตรียมเงิน 3500 บาท สำหรับค่าใบประกอบอาชีพสามัญวิศวกรนะครับ หรือในบางกรณีอาจารย์ก็จะให้อบรมเพิ่มเติมนะครับอันนี้ก็แล้วแต่ดุลพินิจกรรมการครับ ถ้าตกสัมภาษณ์ เท่าที่ทราบมานะครับจะต้องไปสอบข้อเขียนเพิ่มเติม โดยเสียเงินค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นอีก 1500 บาท 

และแล้วก็ครบกำหนดนะครับ ก็ถึงเวลาเข้าไปเช็คผลสัมภาษณ์ครับ เปิดเข้าไปที่เว็ปของสภาวิศวกรเหมือนเดิมครับ เข้าไปที่บริการสมาชิก>>>ตรวจสอบสถานะการยื่นคำขอรับใบอนุญาต หรือตามลิ้งนี้ครับ http://www.coe.or.th/coe-2/main/coeHome.php?aMenu=21301 ผลปรากฎว่าผ่านนะครับ


เลขที่ออก .....4300 (-_-'')  ก็จะมีใบเสร็จให้เราพิมพ์สำหรับชำระเงินตามธนาคารหรือตามที่ในใบเสร็จกำหนดนะครับ 
ข้อมูลแสดงประวัติการขอใบอนุญาติและค่าธรรมเนียมสำหรับขอสามัญวิศวกร โดยการกรอกเลขที่สมาชิกครับ

 จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ เมื่อจ่ายเงินแล้วเราจะต้องรอการจัดส่งภายใน 1 เดือนนะครับ ในกรณีที่ไม่ได้ไปรับที่สภาวิศวกร
 แต่ถ้าไปจ่ายเงินที่สภาวิศวกรสามารถรอรับได้เลยครับใช้เวลาประมาณ ครึ่ง ชม. ครับ โดยถ้าใครไม่สะดวกสามารถไปรับได้วันเสาร์ภายในเวลาทำการครับ หน้าตาบัตรก็เหมือนเดิม ส่วนใบประกาศนียบัตรจะส่งตามมาให้ทีหลังครับ (ของเคสผมใช้เวลา 3 อาทิตย์)


ใบ กว.ระดับสามัญวิศวกร


ประกาศษนียบัตรรับรองการเป็นสามัญวิศวกรครับ

สรุป จากที่เล่ามาทั้งหมดนะครับ
1.     การเตรียมเอกสารก็ให้เป็นไปตามที่อธิบายข้างต้นครับ เน้นที่
a.   ใบ กว. ต้องมีอายุมากกว่า 3 ปี
b.     ผลงานที่ยื่นต้องเข้าข่ายวิศวกรรมควบคุม พูดง่ายๆ คือต้องใช้ ใบ กว. ถึงจะทำงานนั้นๆได้ ซึ่งในแต่ละสาขาจะมีข้อกำหนดอยู่ ยกตัวอย่างเช่น สาขาไฟฟ้ากำลัง งานออกแบบถ้าโหลดอาคารนั้นๆ เกิน 300 kVA ถือเป็นงานเป็นงานวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมาย ถ้าต่ำกว่า 300 kVA จะไม่ถือเป็นงานวิศวกรรมควบคุมครับ
c.      บัญชีปริมาณงาน เป็นไปได้ก็ใส่ไปให้หมดครับที่เคยทำ เพื่อเป็นการแสดง progress เราครับว่ายังทำงานนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะบางทีถ้าผลงานเด่นเราไม่เวิร์ค ตรงนี้ก็น่าจะมีส่วนในการพิจารณาครับ
     2.    การเตรียมตัวเพื่อสอบสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่ก็มาจากงานที่เราทำ ซึ่งจากการสอบถามเพื่อนๆพี่ๆ พบว่า ให้เริ่มอ่านมาตรฐานติดตั้งของ  วสท. ก่อนครับถ้าไม่มีเวลา ผมว่าการรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้า การต่อลงดิน จะเป็นเรื่องที่คณะกรรมการถามบ่อยที่สุดให้เตรียม อ่านมาเยอะๆหน่อยครับ นอกจากนั้น ก็ให้เตรียมดูผลงานที่เรายื่นครับ เราควรจะตอบได้ให้หมดทุกอย่างที่ปรากฎในแบบ Single line และ Schematic ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลในการใช้งาน การคำนวณค่าอุปกรณ์และพิกัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหลือก็อาจจะมีคำถามเกี่ยวกับการติดตั้งหน้างานนิดหน่อยครับ ***เน้นที่ผลงานเด่นที่เราส่งไปเราควรจะรู้ที่มา และเหตผลในการเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆครับ ***
     3.     ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม
a.      ค่าธรรมเนียมสอบสัมภาษณ์ 1500 บาท
b.     ค่าต่ออายุสมาชิก 800 บาท
c.      ค่าใบประกอบอาชีพ สามัญวิศวกร 3500 บาท
d.      รวมทั้งหมดก็ประมาณ 5800 บาทใน กรณีที่สอบผ่านเลยนะครับ ถ้าไม่ผ่านก็จะมีเพิ่มอีก 1500 บาท หรือต้องไป  อบรมเฉพาะด้านตามที่ทางคณะกรรมการแนะนำนะครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. YouTube channel for you to play your video games on
    Youtube Channel for you to play your video youtube mp4 games on. This is the place where you can play most videos on YouTube. YouTube is the leading entertainment platform

    ตอบลบ